วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แบบทดสอบเรื่อง การปกครองสมัยอยุธยา

แบบทดสอบความรู้ออนไลน์
แบบทดสอบเบญจมราชานุสรณ์



1. ในปีใด ได้มีการสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานี


พ.ศ. 1792 - พ.ศ. 1981

พ.ศ. 1793 - พ.ศ. 1981

พ.ศ. 17927- พ.ศ. 1981

พ.ศ. 1794- พ.ศ. 1981


2. กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของใคร

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

พญาลิไท

พ่อขุนรามคำแหง

ข้อ ก และ ค ถูก


3. การเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ

แบบเทวสมาธิ

แบบเทวสมมติ

แบบเทวปัญญา

แบบเทวสงบสุข


4. ส่วนการปกครองของไทยนั้น นับถือใคร เป็นบิดาของ ประชาชน

ครู อาจารย์

พระภิกษุ

ทหาร

พระเจ้าแผ่นดิน


5. ฝ่ายพลเรือนรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทาง ด้านเวียง วัง คลัง นา มีใคร เป็นผู้รับผิดชอบ

สมุหนายก

สมุหผู้ว่า

สมุหกลาโหม

ไม่มีข้อถูก


6. กิจการเกี่ยวกับทหารและการป้องกันประเทศ เช่น กรมช้าง กรมม้าและกรมทหารราบ มีใครเป็นผู้รับผิดชอบ

สมุหานายก

สมุหผู้ว่า

สมุหกลาโหม

ถูกทุกข้อ


7. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 คือใคร

พระเจ้าอู่ทอง

พระเจ้าตากสิน

พญามังราย

พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ


8. ใครมีหน้าที่เป็นแผนกว่าความนครบาล และคุมไพร่หลวงมหันตโทษ ทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้าง


ขุนเมือง

ขุนวัง

ขุนคลัง

ขุนนา


9. ใครทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็น พนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายหน้า บรรดา ข้าราชการ

ขุนเมือง

ขุนวัง

ขุนคลัง

ขุนนา


10. ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงิน

ขุนเมือง

ขุนวัง

ขุนคลัง

ขุนนา


11. มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎร เป็นพนักงานจัดซื้อข้าว ขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง

ขุนเมือง

ขุนวัง

ขุนคลัง

ขุณนา


12. ลักษณะการปกครองในสมัยอยุธยา เป็นการปกครองแบบใด


การปกครองแบบพ่อปกครองลูก

การปกครองแบบประชาธิปไตย

การปกครองแบบราชาธิปไตย

การปกครองแบบจตุสดมภ์


13. ลักษณะสำคัญของการปกครองระบบเทวสมมติ หรือเทวสิทธิ์นี้ มีข้อน่าสังเกตุอยู่ 3 ประการ ยกเว้นข้อใด


รัฐเกิดโดยพระเจ้าบงการ

พระเจ้าทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองรัฐ

ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงผู้เดียว

ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ


14. ขอมมีการปกครองตามคติที่ได้มาจากประเทศใด

พม่า

อินเดีย

ลาว

มาเลเซีย


15. ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ใด

เมืองลาว

เมืองพม่า

กรุงศรีสุโขทัย

กรุงธนบุรี




ผลคะแนน =

เฉลยคำตอบ:





ประวัติการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา




ประวัติการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา

กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง มหาราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง ปรากฎว่าหัวเมืองมอญซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นได้ก่อการกบฎ กรุงสุโขทัยนั้นไม่สามารถปราบปรามได้ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นว่ากรุงสุโขทัยอ่อนอำนาจลง จึงประกาศ อิสรภาพและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย การเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ แบบเทวสมมติ (Divine rights)

ลักษณะสำคัญของการปกครองระบบเทวสมมติ หรือเทวสิทธิ์นี้ มีข้อน่าสังเกตุอยู่ 3 ประการ คือ


1. รัฐเกิดโดยพระเจ้าบงการ
2. พระเจ้าทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองรัฐ
3. ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงผู้เดียว



ระบบเทวสิทธิ์ นี้ ถือคติการปกครองมาจากขอมและฮินดูโดยแบ่งแยกผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การ ปกครองออกจากกัน พระมหากษัตริย์ถูกยกย่องให้เป็นสมมุติเทพเช่นพระอิศวรหรือพระนารายณ์"การปกครองแบบเทวสิทธิ์ กระทำให้ชนชั้นปกครองกลายเป็นชนชั้นหนึ่งต่างหาก มีอภิสิทธิ์เสมือนเทพเจ้า ตามคติของฮินดูราษฎรกลายเป็นผู้อยู่ใต้อำนาจและผู้ถูกปกครองอย่างแท้จริง สมบูรณาญาสิทธิราชถือ กำเนิดมาจากระบบนี้และเป็นที่มาของลัทธิมูลนายกับบ่าวหรือทาส และระบบศักดินา"


ลักษณะการปกครองสมัยโบราณนั้น มีเค้าเงื่อนปรากฏเป็นลักษณะการปกครอง 2 แบบ คือ แบบ หนึ่งเป็นแบบขอมเข้ามาครอบครองถิ่นฐานประเทศอยู่เดิม ขอมมีการปกครองตามคติที่ได้มาจากอินเดีย ส่วนไทยปกครองอย่างแบบไทยเดิม ส่วนทางใต้ปกครองตามแบบขอมเพราะขอมยังมีอำนาจอยู่ในเมือง ต่าง ๆ เช่น ละโว้และเมืองอื่น ทางใต้การปกครองของขอมและของไทยมีที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ถืออาญาสิทธิ์ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นใหญ่ ต่างก็มีพระมหากษัตริย์ด้วยกันทั้งสองแบบแต่ของขอมนั้น ถือลัทธิตามชาวอินเดีย คือสมมุติพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ พระอิศวรหรือพระนาราย์แบ่งภาคมา เลี้ยงโลกและอาศัยความเป็นเจ้าตำราการปกครองลักษณะการที่ขอมเข้าปกครองราษฎร จึงคล้ายกับนาย ปกครองบ่าว (Autocratic government) ส่วนการปกครองของไทยนั้น นับถือพระจ้าแผ่นดินเป็นบิดาของ ประชาชน วิธีการปกครองก็เอาลักษณะการปกครองของสกุลมาเป็นคติ และถือว่าบิดาเป็นผู้ปกครอง ครัวเรือน



ต่อมาในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ทรงได้ปรับปรุงระบอบการปกครองใหม่ โดยมีพระมหากษัตริยเ์ป็นผู้ อำนวยการปกครองเรียกการปกครองแบบนี้ว่า การจัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นราชธานี และเมืองพระยามหานครตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าราชธานีมีวงเขตแคบลงทั้งนี้ก็ด้วยมีความประสงค์ ให้หัวเมืองชั้นในติดต่อกับราชธานีได้โดยสะดวก ส่วนหัวเมืองชั้นนอกอันเป็นเมืองพระยามหานครนั้น อยู่ห่างไกลออกไปจากราชธานี เมื่อการคมนาคมยังไม่เจริญ ก็ย่อมติดต่อกับราชธานีได้โดยมากราชการ บริหารส่วนกลางไม่สามารถควบคุมดูแลได้อย่างใกล้ชิด เมืองพระยามหานคร จึงเกือบไม่ขึ้นต่อราชการ บริหารส่วนกลางเลย เจ้าเมืองผู้ปกครองเมืองเหล่านั้นเป็นผู้แทนพระมหากษัตริย์และได้รับการมอบหมาย ให้ใช้อำนาจแทนพระมหากษัตริย์ ทั้งในทางการปกครอง และในทางตุลาการ เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรง แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแล้วก็มีอำนาจที่จะปกครองเมืองได้อย่างเต็มที่ เกือบไม่ต้องขึ้นหรือคอยรับคำสั่ง จากราชธานีด้วยเหตุนี้เมื่อพระมหากษัตริย์ใดทรงมีอานุภาพก็รักษาเอกภาพแห่งพระราชอาณาจักรไว้ได้ อย่างเรียบร้อย แต่ถ้าพระมหากษัตริย์องค์ใดหย่อนอานุภาพลง เจ้าเมืองมักจะคิดตั้งตนเป็นอิสระทำให้ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรไม่มั่นคง เหตุดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากราชการส่วนกลาง และราชการปกครองส่วนภูมิภาคไม่มีความสัมพันธ์กันเพียงพอ



รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งได้ทรงปรับปรุงรูปแบบการปกครองขึ้นใหม่ โดยแยก การบริหารราชการออกเป็นฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร สำหรับฝ่ายพลเรือนรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทาง ด้านเวียง วัง คลัง นา มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนกิจการเกี่ยวกับทหารและการป้องกันประเทศ เช่น กรมช้าง กรมม้าและกรมทหารราบ มีสมุหกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จึงมีความ สำคัญยิ่งต่ออนาคตของการจัดการปกครองประเทศการปกครองได้เป็นไปในทางเสริมสร้างสมบูรณาญา สิทธิราชเต็มที่ เพราะได้พวกพราหมณ์และพวกเจ้านาย ท้าวพระยามาจากกรุงกัมพูชา ซึ่งมีความชำนาญ ทางการปกครองอย่างถ้วนถี่ดีกว่าที่เคยรู้มาแต่ก่อนไว้ ดังนั้นแนวความคิดเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์และ สถาบันแห่งพระองค์ ก็คงจะต้องเข้มงวดกวดขันยิ่งกว่าแต่กาลก่อน คือถือว่าเป็นสมมติเทวราชเต็มรูปแบบ สำหรับการปรับปรุงแก้ไขการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค อันเป็นผลของการปฏิรูปดังกล่าว นั้นก็คือได้มีการขยายเขตราชธานี และหัวเมืองชั้นในออกไปให้กว้างกว่าเดิม เพื่อที่จะได้รวมอำนาจการ ปกครองเข้าไว้ในส่วนกลางให้ราชการบริหารส่วนกลาง สามารถควบคุมส่วนภูมิภาคได้ดียิ่งขึ้นและจัด หัวเมืองชั้นในอยู่ในวงของราชธานีเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา ส่วนหัวเมืองชั้นในพระมหากษัตริย์ทรงอำนวย การปกครองโดยมีเสนาบดีเป็นผู้ช่วย ฉะนั้นผู้ปกครองหัวเมืองชั้นในหรือเมืองชั้นจัตวาจึงเรียกว่า "ผู้รั้ง" ไม่ใช่เจ้าเมืองและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งชั่วเวลา 3 ปี ส่วนกรมการอันเป็นพนักงานปกครองก็ ขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของเจ้ากระทรวงต่างๆ ในราชธานีนอกจากนั้นปรากฎตามกฎมนเทียรบาล และทำเนียบศักดินาหัวเมืองได้เลิกเมืองลูกหลวง 4 ด้านของราชธานีตามที่มีมาแต่ก่อน คงให้มีฐานะเป็น เพียงเมืองชั้นจัตวาอาณาเขตวงราชธานี ซึ่งได้ขยายออกไปภายหลังการปฏิรูปครั้งใหญ่นี้ ส่วนระเบียบ การปกครองเมืองภายนอก วงราชธานียังคงจัดเป็นเมืองพระยามหานครตามเดิม แต่แบ่งออกเป็นเมือง ชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรีเมืองชนิดนี้ต่อมาเรียกว่ หัวเมืองชั้นนอกเพราะอยู่วงนอกราชธานีและอยู่ห่างไกล หรือเพราะอยู่หน้าด่านชายแดนแต่ละเมืองก็มีเมืองอยู่ในอาณาเขตทำนองเดียวกับวงราชธานีและบรรดา เมืองชั้นนอก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นสูงศักดิ์เป็นผู้สำเร็จราชการ เมืองมีอำนาจบังคับบัญชาสิทธิ์ขาดอย่างเป็นผู้ต่างพระองค์ทุกอย่างและมีกรมการพนักงานปกครองทุก แผนกอย่างเช่นในราชธานีหัวเมืองต่อนั้นออกไป ซึ่งเมืองชนต่างชาติต่างภาษาอยู่ชายแดนต่อประเทศอื่น ให้เป็นเมืองประเทศราชมีเจ้านายของชนชาตินั้นปกครองตามจารีตประเพณีของชนชาตินั้นๆ และเมือง นั้นต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองกับเครื่องราชบรรณาการมีกำหนด 3 ปีครั้งหนึ่ง


ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค ปลีกย่อยออกไปอีก ซึ่งได้แก่การจัดระเบียบการปกครองภายในเมืองหนึ่งๆทั้งหัวเมืองชั้นนอกและชั้น ใน หรือเรียกว่า ระเบียบการปกครองท้องที่ โดยแบ่งเมืองออกเป็นแขวง แขวงแบ่งออกเป็นตำบล ตำบล แบ่งออกเป็นบ้าน ซึ่งเป็นที่รวมของหลาย ๆ ครัวเรือนแต่มิได้กำหนดจำนวนคน หรือจำนวนบ้านไว้การ แบ่งเขตการปกครองตามที่กล่าวมาข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีรูปร่างผิดแปลกไปกับการปกครองสมัย ปัจจุบันมาก นักกฏหมายปกครองท้องที่ตราขึ้น ในสมัยหลังได้ร่างขึ้นโดยอาศัยรูปการปกครอง ซึ่งมีอยู่ แต่เดิมเป็นหลักใหญ่และได้แก้ไขดัดแปลงบ้างเล็กน้อยเท่านั้น


การปกครองระบบเทวสิทธิ์นี้ ถ้าจะพิจารณาถึงผลสะท้อนที่เกิดกับการบริหารแล้ว จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยในสมัยนั้น เมื่อมีการสถาปนาประเทศเข้าสู่เสถียรภาพ ข้อเสียของระบบเทวสิทธิ์ก็ปรากฏขึ้น เช่นชนฝ่ายปกครองหรือกษัตริย์ถูกแยกห่างออกจากฝ่ายถูกปกครองคือประชาชนมากเกินไปจนกลายเป็น ชนชั้นหนึ่งอีกต่างหาก ซึ่งแตกต่างจากการปกครองระบบบิดาและบุตรมาก ประกอบกับชนชั้นปกครอง ระดับรองลงมา อันได้แก่ มูลนายต่าง ๆ ช่องทางการใช้อำนาจหน้าที่เกินขอบเขต เกิดการกดขี่ทารุณและ คดโกงขึ้น ตำแหน่งพระมหากษัตริย์กลายเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจและอภิสิทธิ์ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งพึงปรารถนา ในทางโลก ผู้ใดยึดครองตำแหน่งย่อมได้มาทั้งอำนาจและอภิสิทธิ์ต่างๆ ดุจเทพเจ้า ฉะนั้นตลอดระยะเวลา อันยาวนานของการปกครองใต้ระบบเทวสิทธิ์ ได้มีการช่วงชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งทำให้ เป็นมูลเหตุไปสู่ความอ่อนแอ และต้องสูญเสียเอกราชให้แก่ข้าศึกไปถึงสองครั้งสองครา ซึ่งประวัติศาสตร์ ของกรุงศรีอยุธยาจะยืนยันข้อความจริงดังกล่าวได้ดี เหตุการณ์เช่นนี้มิได้มีปรากฎในสมัยสุโขทัย ซึ่งถือ การปกครองระบบบิดากับบุตร เพราะตำแหน่งกษัตริย์เป็นเพียงเสมือนตำแหน่งหัวหน้าครอบครัวเท่านั้น เมื่อคนที่ได้เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสิ้นไป คนใหม่ที่มีอาวุโสรองลงไปจะเข้ารับหน้าที่แทน มิได้ถือว่า เป็นตำแหน่งพิเศษเปี่ยมด้วยอภิสิทธิ์ดังระบบเทวสิทธิ์

ลักษณะการปกครองในสมัยอยุธยา
การปกครองแบบจตุสดมภ์


ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุง ระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบอย่างของขอม โดยมีกษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครอง การปกครองประกอบด้วยเสนาบดี 4 คนคือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา พร้อมทั้งได้ตรากฎหมายลักษณะอาญาหลวงและ กฏหมายลักษณะอาญาราษฎร เพื่อเป็นบรรทัดฐานในด้านยุติธรรม การบังคับบัญชา ในส่วนกลางแบ่งออกเป็น



ขุนเมือง ทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ กำนัน ในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ ซึ่งแบ่งเป็นแผนกว่าความนครบาล และคุมไพร่หลวงมหันตโทษ ทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้าง


ขุนวัง ทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็น พนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายหน้า บรรดา ข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในและข้าราชการฝ่ายในทั่วไป มีอำนาจที่จะตั้งศาลชำระความซึ่งเกี่ยวข้องได้ ราชการในกรมวังนี้มีความละเอียดกว่า ราชการในกรมเมืองต้องรู้วิธีปฏิบัติราชการ มีความจดจำดีมีความขยันหมั่นเพียรและ ต้องใช้ความรู้ความสามารถ


ขุนคลัง ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งจะเข้าใน พระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาล ซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวง


ขุนนา มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎร เป็นพนักงานจัดซื้อข้าว ขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง ชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเองเป็น ผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวงไม่ให้เสียเวลาทำนา นอกจากนั้นยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษา ความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนาและโคกระบือ

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แบบทดสองการปกครองสมัยสุโขทัย

แบบทดสอบความรู้ออนไลน์
แบบทดสอบเบญจมราชานุสรณ์



1. อาณาจักรสุโขทัย เป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุด ในสมัยใด

สมัยพ่อขุนรามคำแหง

สมัยพ่อขุนบานเมือง

สมัยพ่อขุนเม็งราย

สมัยพ่อขุนบางกลางหาว


2. เมืองหน้าด่านที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสุโขทัยคือเมืองใด


เมืองสระหลวง

เมืองนครชุม

เมืองสองแคว

เมืองศรีสัชนาลัย


3. เมืองในข้อใดที่มีหน้าที่รวบรวมกำลังคนและเตรียมสะเบียงอาหารยามมีศึกสงคราม

เมืองราชธานี

เมืองพระยามหานคร

เมืองลูกหลวง

เมืองประเทศราช


4. เมืองที่ใช้เวลาเดินเท้า 2 วัน มีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ กษัตริย์ส่งพระบรมวงศานุวงไปปกครองคือเมืองใด

เมืองราชธานี

เมืองประเทศราช

เมืองพระยามหานคร

เมืองลูกหลวง


5. สมัยสุโขทัยมีการปกครองแบบใด


สมบูรณาญาสิทธิราชย์

คอมมิวนิสต์

ประชาธิปไตย

สมมติเทพ


6. การลงโทษในข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ปรากฎในสมัยสุโขทัย

กักขับ

กักขัง

การประหารชีวิต

การเฆี่ยน


7. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติเพราะเหตุใด


เห็นว่าไม่ค่อยมีผู้ให้การนับถือ

เห็นว่าเป็นความเชื่อที่มีเหตุผลไม่งมงาย

เห็นว่าเป็นศาสนาที่เจริญรุ่งเรือง ถ้านำมานับถือจะทำให้อาณาจักรเจริญรุ่งเรือง

เห็นว่าประชาชนเป็นคนไม่ดี ควรมีศาสนาไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว


8. กฎหมายในข้อใดต่อไปนี้ที่มีการจารึกไว้ในหลักศิลาจารึก


กฎหมายมรดก

กฎหมายภาษี

กฎหมายร้องทุกข์

ถูกทุกข้อ


9. ข้อความในหลักศิลาจารึกที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แสดงให้เห็นว่าสุโขทัยมีลักษณะอย่างไร

ข้าวยากหมากแพง

อดอยาก ขาดแคลนอาหาร

อุดมสมบูรณ์

ยากจน


10. อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาในสมัยของกษัตริย์พระองค์ใด


พญาลิไท

พญาลือไท

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

พญาไสลือไทย




ผลคะแนน =

เฉลยคำตอบ:





การปกครองสมัยสุโขทัย






การปกครองสมัยสุโขทัย



อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราชมีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์ อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981






ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย



แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้



1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ



1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย



2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน



3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง



4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง






2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์






การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ



1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช



2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย



3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น



1. เมืองหลวง หรือราชธานี เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวนมาก ตั่งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและขนบประเพณี พระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง



2. เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2 วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์






สร้างโดย: นายชาญชัยแหล่งอ้างอิง: http://www.dopa.go.th/history/suk.htmค้นจาก www.thaigoodview.com









ตารางงาน กัน นภัทร อินทร์ใจเอื้อ





2 มิ.ย. 53
- 9.00-16.00น. อัดรายการ star stage ที่ช่อง3หนองแขม(ตรงข้ามเพชรเกษม77แต่งกายเรียบร้อยห้ามใส่แตะคีบยีนส์ ขาด+พกบัตรประชาชน)
- วันนั้นจะมีอัด 2 เทปเทป 1 11.00 เป็นต้นไป เดอะสตาร์ 6เทป 2 15.00 เป็นต้นไป โดม ปกรณ์ ลัม
3 มิ.ย. 53 น.
- ร้าน ซูเปอร์สปอร์ต ชั้น 3 สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า เริ่มตั้งแต่เวลา 16.30 น. งานเปิดตัว รูปโฉมใหม่ของสาขา เซ็นทรัลปิ่นเกล้าภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆมากมาย รวมทั้งการเดิน Fashion Show ของ น้องกัน และ น้องริท the Star 6 (เครดิตบ้านใหญ่)
4 มิ.ย. 53
- บางกอกสเตชั่น เดอะสตาร์ทั้ง 8 คน มนตรีสตูดิโอ ลาดพร้าว 101(รอยืนยัน)
- เธอกับฉันคอนเน็คชั่นอัพ เดทล่าสุด!! กับกิจกรรม Meet&Greet The Star 6 ที่เหล่าแฟนคลับจะ ได้พบหนุ่มๆทั้ง4คน โตโน่, ริท, กัน และเซน ในวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 53( ที่นั่งเต็มหมดแล้ว )
5 มิถุนายน 53
- เวลา 9:00-10:00 ทางช่องACTS รายการ star clubพี่ดิวกะพี่ป๋อ จะพาน้องๆไปคุยกับน้องกัน เดอะสตาร์คนล่าสุดจ้า
6 มิถุนายน 53- ข่าวจากไทยรัฐงานที่ จ.จันทบุรี รีสอร์ทสะเด็ดยาดราย ละเอียดของทริปไปจันทบุรี -------------วัน เดินทาง 6 มิ.ย. 53
-เวลา ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ (โดยประมาณ) 6.30 – 7.00 น♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥
8 มิ.ย. 53
- อัลบั้ม เดอะสตาร์หก วางแผง!! เครดิตจากจีเมมเบอร์
- งานแถลงข่าวเปิดอัลบั้ม The Star 6 เอสพลานาด เวลา 16.00 น. เครดิตจากจีเมมเบอร์♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥
9 มิถุนายน 2553
- Meet &Greet คมชัดลึก(งานตามได้)
10 มิถุนายน 2553
- อัดเทปรายการ Frank Frank(ไม่รู้ไปกันกี่คน)
11 มิ.ย. 53
- ออนแอร์ รายการ รู้จริงป่ะ ทางช่อง 3 เวลา 23.00 น. (รอยืนยัน)
- ออกรายการสด Fivelive (ไม่รู้ไปกันกี่คน) ช่อง 5 เวลา 0.10น.
- เวลา 12.00 คุยกัน Frank Frank ช่อง Act Channel12 มิ.ย. 53
- เวลา 12:30 น. THE STAR 6 ทั้ง 8 คน แจกลายเซ็นให้ผู้ที่ซื้ออัลบั้ม THE STAR 6 ภายในงาน ที่ B2S สาขาเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ
- เวลา 14.50-15.50 น. รายการ Sisterday ทางช่อง 5 (รอยืนยัน)
15 มิย. 53
- นิตยสารพลอยแกมเพชร วางแผง เครดิตZENMANGO@pantip และ รุ่งลุย
- นิตยสารผู้หญิง วางแผง หน้าปก ขวัญ อุษามณี น้องเดอะดาว 6 อยู่ในเล่ม
- นิตยสารขวัญเรือน วางแผง (รอยืนยัน)
18 มิ.ย. 53
- วางแผง VCD/DVD Karaoke The Star 6(ริทบอกในเบื้องหลังmv)
- เปรียว ฉบับปักษ์หลังมิถุนายน 2553 วางแผง
20 มิ.ย. 53
- มินิคอนเสิร์ตของ The Star 6 (เซน กัน ริท โตโน่) ในงาน TOYOTA ลดโลกร้อน จัดที่ซีคอนสแควร์(รอยืนยัน)
25 มิ.ย. 53
- งานครบรอบ 100 ปีตึกยาวโรงเรียนสวนกุหลาบ เวลา 18.00 น.
26 มิ.ย
.- Exclusive Concert The Star 6 เวลา 18.00 น. ณ หอประชุมมหิศร SCB Park รัชโยธิน
27 มิ.ย.
- 13.00น. 07 โชว์ ที่JSL ออกอากาศสดช่อง 7 ออกอากาศสด 15.45 ช่อง7
**รอวันวางแผง
1.) นิตยสาร Centerpoint
2.) นิตยสาร CRUSH
3.) นิตยสาร Volume
4.) นิตยสาร เธอกับฉัน