วิชาก้าวทันโลกศึกษา[2] หน่วยที่ 3




กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในระดับบุคคล
บุคคลแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1. บุคคลธรรมดา หมายถึงบุคคลที่มีความสามารถ มีสิทธิประกอบนิติกรรมได้ตามกฎหมาย
2. นิติบุคคล หมายถึงบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้น มีสิทธิ
ประกอบนิติกรรมได้ตามกฎหมาย ได้แก่ วัด มูลนิธิ สมาคม ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทบวงการเมือง (กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล จังหวัด)
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในระดับบุคคลสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ
1. กฎหมายที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร์ ได้แก่
1.1 การแจ้งคนเกิด ให้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง
ในท้องที่ที่เกิดภายใน 15 วันตั้งแต่เกิด
1.2 การแจ้งคนตาย ให้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง
ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ภายใน 24 ชั่วโมง
1.3 การแจ้งย้ายที่อยู่ ให้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง
ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ย้ายออก
2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประชาชน ได้แก่
2.1 บุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์
ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
2.2 บัตรประจำตัวประชาชนให้ใช้ได้ 6 ปี นับแต่
วันออกบัตร และเมื่อบัตรหมดอายุผู้ถือบัตรต้องมีบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หรือก่อนวันหมดอายุบัตร 60 วัน
3. กฎหมายที่เกี่ยวกับการับราชการทหาร ได้แก่
3.1 ชายที่มีสัญชาติไทยมีหน้าที่รับราชการทหาร
ด้วยตนเองทุกคน
3.2 ชายที่มีสัญชาติไทย เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี
ใน พ.ศ. ใดให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายในปี พ.ศ. นั้น ณ ภูมิลำเนาของตน
3.3 ทหารกองเกินเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีในปี พ.ศ.
ใดต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของตนภายในปี พ.ศ. นั้น เมื่อรับหมายเรียกแล้วทหารกองเกินต้องมาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกตามกำหนดนัด โดยนำใบสำคัญทหารกองเกิน บัตรประจำตัวประชาชน และประกาศนียบัตรหรือหลักฐานการศึกษา มาแสดงด้วย
4. กฎหมายที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรมสัญญา
4.1 นิติกรรม หมายถึง การแสดงเจตนาของบุคคล
ที่จะกระทำชอบด้วยกฎหมายด้วยความสมัครใจเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับใช้ซึ่งสิทธิ นิติกรรมที่สมบูรณ์นั้นผู้ทำนิติกรรมจะต้องมีความสามารถใช้สิทธิทำนิติกรรมโดยชอบธรรมของบุคคลคนเดียว
4.2 สัญญา หมายถึงการแสดงเจตนาของบุคคล 2 คน
ที่ต้องตรงกัน เช่น สัญญาจ่งแรงงงาน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าทรัพย์ เป็นต้น สัญญาจะเป็นนิติกรรมเสมอ แต่นิติกรรมอาจไม่ใช่สัญญา เช่น การทำพินัยกรรม การโฆษณา การให้คำมั่นว่าจะทำให้ได้ ฯลฯ
กฎหมายประเภทนี้เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อควบคุมป้องกันมิให้ประชาชนทำสัญญาเอารัดเอาเปรียบกัน หรือทำความตกลงกันในเรื่องที่เป็นการขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

 กฎหมายทะเบียนราษฎร

    1. ประโยชน์ของกฎหมายเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
               
การที่กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนดให้มีทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย ทะเบียนบ้านจะเป็นประโยชน์ทำให้รู้ข้อมูลต่างๆ ของประชากรในประเทศ โดยรู้ว่าในบ้านหนึ่งในท้องที่หนึ่งมีประชากรกี่คน เป็นเพศอะไรบ้าง แต่ละคนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีการโยกย้ายออกไปหรือเข้ามาในท้องถิ่นนั้นอย่างไร มีจำนวนประชากรเพิ่มหรือลดลงจากการเกิดการตายเท่าใด จำนวนประชาการในแต่ละท้องถิ่นมีจำนวนมากน้อยเพียงไร   ซึ่งความรู้ในข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายปกครองและฝ่ายบริหารบ้านเมือง เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
        สรุป..
1. คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดในบ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิด
                2. คนตายให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง
                3. สูติบัตร เป็นเอกสารแสดงถึง ชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาส
                4. มรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล
                5. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้งภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก
                6. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาในบ้านใด เจ้าบ้านตะต้องแจ้งการย้ายเข้าที่อยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า


กฎหมายการเกณฑ์ทหาร
  - ชายไทยที่มีสัญชาติไทย อายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีพลทหารกองเกินภายในเขตภูมิลำเนาของตน
       - เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกและต้องทำการตรวจเลือกเพื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการตามกำหนดนัด
        *บุคคลที่ไม่ต้องเป็นทหารประจำการ ได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ คนพิการทุพพลภาพ       บุคคลที่ขาดความสามารถบางประการที่ไม่อาจเป็นทหารได้

กฎหมายเลือกตั้ง

     เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม

กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของชุมชน และสิ่งแวดล้อม       - พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เช่น การสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
      - พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518
      - พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2522